องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ : www.abtbungkla.go.th

 
 
สถานที่ท่องเที่ยว

 

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ที่ตั้ง
        บ้านกุดโง้ง ตั้งอยู่ ณ ต.บุ่งคล้า อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ตรงกับเส้นรุ้งที่ 15 47 9 เหนือ เส้นแวงที่ 102 6 55 ตะวันออก

การเดินทาง
        จากตัวเมืองชัยภูมิไปยังบ้านกุดโง้ง สามารถไปได้ 2 ทาง คือ ไปตามถนนสายชัยภูมิ – สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 201) ประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนขวาน้อย – กึดตุ้ม อีกประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงบ้านกุดโง้งอีกทางหนึ่งคือ ไปตามถนนสายชัยภูมิ – บัวใหญ่ (ทางหลวงหมายเลข 202) ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาเข้าบ้านกุดตุ้มระยะทางประมาณ 4 กโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนกุดตุ้ม - ขวาน้อย อีกหระมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านกุดโง้ง

ลักษณะภูมิประเทศ
         เป็นหมุ่บ้านเล็กๆ มีลักษณะคล้ายเกาะ มีลำน้ำประทาวล้อมรอบพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่ใช้ทำนา ซึ่งมีลักษณะคล้ายชุมชนสมียทวารวดีอื่นๆ เช่นที่นครปฐม ฯลฯ คือปบรเวณที่เป็นเมืองโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนจะมีคูน้ำหรือใช้คูน้ำเป็นเมืองล้อมรอบ

การพบใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง
         ใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง พบกระจายอยู่ทั่วไปรอบๆบริเวณหมู่บ้าน แต่เดิมใบเสมาเหล่านี้จะจมอยู่ในดินมีเฉพาะส่วนยอดที่โผล่ขึ้นมาให้เห็น ไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ยกเว้นใบเสมาภาพชาดกที่ไม่ได้ฝังจมดินอยู่เหมือนใบเสมาอื่นๆ แต่ปักอยู่กลางแจ้งขอบเนินดินเตี้ยๆ ขนาดเล็ก 2 เนิน (ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพื้นที่ทำนา) ที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลนัก โดยเนินดินแรกพบว่ามีการปักใบเสมา เป็นรูปวงกลมล้อมรอบเป็นเนินดิน โดยปักเป็นเสมาคู่ มี 5 จุด ส่วนเนิน ดินที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างจากเนินดินแรกไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย ก็มีลักษณะและทิศทางในการปักเหมือนกัน เนินดินที่ปักใบเสมารูปชาดกทั้งสองนี้ มีขนาดเล็กและไม่พบเศษอิฐหรือซากศาสนาสถานบริเวณเนินดินดังกล่าวเลย จึงสันนิฐานว่าใบเสมาภาพชาดกที่อยู่รอบเนินดินนี้ คงใช้ปักเป็นเครื่องหมายแสดงถึงลานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าที่จะใช้เป็นใบเสมารอบอุโบสถ แต่ช่วงเวลาต่อมาอาจได้มีการใช้ปักเสมานี้เป็นสิ่งที่เคารพนับถือภายในหมู่บ้านด้วย เพราะใบเสมาที่เป็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมที่พบกลางเนินดินแรกได้มีร่องรอยของการปิดทองอันแสดงถึงการใช้เนที่กราบไหว้บูชาทำนองเดียวกับพระพุทธรูป

ใบเสมาบ้านกุดโง้งนี้
          มีลักษณะเป็นแบบแผ่นหินมีทั้งเป็นสลกภาพเป็เรื่องราวและรูปสัญลักษณ์ลงบนใบเสมาและแบบเรียบๆ ที่ไม่มีการแกะสลักภาพใดๆ ลักษณะการปักใบเสมานั้น จากการสัมภาษณ์ราษฎรในหมู่บ้านทำให้ทราบว่า มีการปักเป็นรูปกลมล้อมเนินดิน ปักเป็นใบเสมาคู่ และมีการปักใบเสมาอยู่กลางเนินดินด้วย จาการศึกษาวิเคราะห์จารึกที่ค้นพบบนใบเสมาและการเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมกับใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ สามารถกำหนดอายุของใบเสมาบ้านกุดโง้งนี้ได้ว่ามีการอายราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 ใบเสมาเหล่านี้ สลักขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
สำหรับการสลักภาพลงบนเสมานั้น พบว่า มีสลักภาพพระพุทธเจ้าและเรื่องราวในชาดกที่สามารถศึกษาได้


 
สวนเห็ดจิรวุฒิ
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงในโรงเรียน

จุดเริ่มต้น   สวนจิรวุฒิ เริ่มศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดมาตั้งแต่ ปี 2552 จาการเพาะเห็ดที่มีในท้องถิ่น ปี 2536 นำเข้าพันธ์เห็ดจากประเทศหนาวมาทำการเพาะเลี้ยง เช่น เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดชิเมจิ เห็กโมตาเกะ เห็ดนาเมโกะ เห็ดเป๋าฮื้อญี่ปุ่น

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยิการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน
        สวนเห็ดจิรวุฒิ เริ่มเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรและชักชวนเกษตรกรผู้สนใจเพาะเห็ดในปี 2536 ได้จัดสัมมนา อบรมเกษตรกร เรื่องการเพาะเห็ด โดยใช้อาคารม้หลังคามุงหญ้าแฝกในปี 2538 จัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดในโรงเรือน มีผู้สนใจมากมาย ปี 2540 ได้เพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเศรษฐกิจ ออกจำหน่าย และชักชวนเกษตรกรผู้สนใจ
ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจทั้งภายในจังหวัดชัยภูมิและต่างจังหวัดเป็นการขยายเครือยข่ายการผลิตขึ้น เรื่องการจำหน่าย สวนเห็ดจิรวุฒิได้จัดหาตลาดไว้รองรับพร้อมทั้งรับประกันราคาด้วย




สถานที่ศึกษาดูงาน

          สวนเห็ดจิรวุฒิ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานเรื่องการเพาะเลี้ยงเห็ดใรโรงเรือนมีผู้ให้ความสนใจจากทั่วประเทศ

รางวัลและความภาคภูมิใจ
        - เห็ดโคนญี่ปุ่นได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่น ประเภทอาหาร ระดับ 3 ดาวของจังหวัดชัยภูมิปี 2546 และระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2546
        - ได้รับราลวัล นักธุรกิจดีเด่น ด้านเกษตรกรรม ปี 2547 จากหอการค้าจังหวัดชัยภูมิ

อาคารประชุมสัมมนา
        จากอาคารไม้หลังเก่าที่ได้เริ่มต้น วันนี้สวนเห็ดจริวุฒิได้ก่อสร้างอาคารประชุมสัมมนาที่ทันสมัย สพดวกสบายไว้รับรองผู้ที่สนใจเรืองการเพาะเห็ด และไว้บริการจัดประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงสังสรรค์สำหรับบุคคลทั่วไป โดยสามารถรองรับการประชมสัมมนา ดังนี้
                ห้องประชุมสัมมนา 1 รองรับ 80 - 150 คน
                ห้องประชุมสัมมนา 2,3 รองรับ 20 - 50 คน
ห้องปรชมุสัมมนา 4 รองรับ 10 – 15 คน

เห็ดโคนญี่ปุ่น
         เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดเศรยฐกิจที่สวนเห็ดจิรวุฒิ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง ที่สำคัญคือทำรายได้ให้เกษตรกรตลอดทั้งปี ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมรับบประทาน สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด รสชาติอร่อยและมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
สวนเห็ดจิรวุฒิ ได้ขยายเครือข่ายการผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 70 รายการทั้งพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและต่างจังหวัด ดูแลแบบพี่น้องทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ การตลาดและรับประกันราคาให้แก่เกษตรกร
ปัจจุบันสวนเห็ดจิรวุฒิได้เปืดบริษัทรับซื้อ - ขายเห็ดที่กรุงเทพฯ เพื่อรับซื้อเห็ดจากเครือยข่ายและจำหน่าบเห็แก็ผู้ประกอบการอาหารรายใหญ่หลายรายการ

สถานที่ติดต่อ
        สวนเห็ดจิรวุฒิ เลขที่ 379 หมู่ที่ 3 บ้านขวาน้อย ต.บุ่งคล้า อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 36000
                 โทร. 0 – 4481 - 1319, 0 – 7878 – 2322, 0 – 9717 – 8644
                   โทรสาร 0 – 4481 – 2032

 
ของดีมีค่า หาดูได้ยาก
ที่นี่ วัดสามัคคีธรรม บ้านหัวนา
พิพิทธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          คนไทยสมัยโบราณนั้น มีภูมิความรู้ ภูมิปัญญาท้องถื่นในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรง อุปกรณืประกอบอาชีพ โดยการนำวัสดุวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตในท้องเพื่อนำมาผลิตเครื่อมือเครื่องใช้นี้
          วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของบรรพบุรุษนี้ หากไม่มีการเก็บรักษารวบรวมนำมารักษาไว้หรือบำรุงรักษาให้ถูกวิธื ในอนาคตภูมิปัญญาของบรรพบุรุษนี้อาจสูญหายไปจากท้องถิ่นได้ การที่วัดสามัคคีธรรมได้ก็บรวบรวมวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ไว้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้เพื่อเก็บรักษาไว้ให้บุตรลูกหลานได้ศึกษาและอาจพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว